สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า



         ใกล้ตัวจนน่ากลัว! พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ชี้ 9 สัญญาณเตือนบ่งบอก โรคซึมเศร้า!!!!!!!
ถ้าดูจากสถิติการเสียชีวิต ด้วยการฆ่าตัวตายของคนทุกวันนี้ ต้องบอกว่า ล้วนมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยด้วย โรคซึมเศร้า ติดอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนๆ นั้นป่วยด้วย โรคซึมเศร้า มักนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง หรือการพยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งส่วนมากมักเป็นผู้หญิง แต่ผู้ที่ฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชาย!!!

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ หรือ หมอเบิร์ท อดีตนางสาวไทย ปี 2542 ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้สัมภาษณ์แพรวดอทคอมถึงต้นเหตุของโรคซึมเศร้า(Major Depressive Disorder)ว่าเกิดจากสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitter) มีความผิดปรกติ หรือเสียสมดุลย์ คนทั่วไปเจอเรื่องร้ายๆ แล้วรู้สึกเศร้า แต่คนไข้โรคซึมเศร้า ไม่ต้องเจออะไรมากระทบ ก็รู้สึกเศร้า หรือนั่งร้องไห้ โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
คนทั่วไปอาจนึกภาพคนเป็นโรคซึมเศร้า ว่าต้องนั่งเศร้า ซึม ร้องไห้ แต่ที่จริงแล้ว ‘โรคซึมเศร้า’ คือชื่อของโรค คนไข้ส่วนใหญ่มักแต่งหน้าสวย ทำผม แต่งตัวมีสีสัน เขาอาจนั่งหัวเราะเฮฮาปาร์ตี้ ดูไม่ออกว่าคนนี้เป็นโรคนี้อยู่ จนกว่าจะได้มีโอกาสพูดคุยกัน และบอกได้ว่ารู้สึกหดหู่ เบื่อ เซ็ง เป็นโรคที่พบบ่อย และอย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว บางครั้งผู้ที่เจ็บป่วยอาจอยู่ในครอบครัวเราก็ได้
เบิร์ทเป็นจิตแพทย์มาสิบกว่าปี พบว่าคนไข้โรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ แต่งหน้าสวย ทำผม แต่งตัวมีสีสัน เขาอาจนั่งหัวเราะเฮฮาปาร์ตี้ ดูไม่ออกว่าคนนี้เป็นโรคซึมเศร้า จนกว่าจะได้มีโอกาสพูดคุยกัน และเขาบอกได้ว่ารู้สึกหดหู่ เบื่อ เซ็ง ที่พบบ่อยคือ ขี้หงุดหงิด ขัดอกขัดใจ ขวางหูขวางตา คนรอบข้างเข้าหน้าไม่ติด หรือเมื่อก่อนดูเป็นคนร่าเริงดี จู่ๆ เกิดเบื่อหน่าย ดูไม่มีชีวิตชีวา หรือแม้กระทั่งคนไข้วัยรุ่น อาจออกแนวเกรี้ยวกราด เหวี่ยงวีน หุนหันพลันแล่น จนพ่อแม่คิดว่าเป็นพฤติกรรมวัยรุ่น แต่ที่จริงอาจเป็นโรคซึมเศร้า ส่วนที่นั่งเศร้า ร้องไห้ ที่เรียกว่า Crying Spell ตามทฤษฎีเป๊ะ ก็มีบ้าง จู่ๆ น้ำตาไหล พรั่งพรูออกมาชนิดที่ห้ามไม่ได้ ไม่มีเรื่องอะไรให้เศร้า แต่รู้สึกเศร้า และอยากร้องไห้ หรืออีกมุมหนึ่งคือคนไข้มึนชา ปราศจากความรู้สึก ไม่รู้สึกยินดียินร้ายต่อสิ่งใด”
         โดยหมอเบิร์ทได้แนะวิธีสังเกตว่า คนนั้นๆ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วยการลองประเมินจาก 9 สัญญาณเตือนเหล่านี้ ถ้าพบว่ามีอาการ 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ก็ควรรีบไปพบแพทย์

1.    มีอารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
2.    ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
3.    ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
4.    รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
5.    ทำอะไรก็เชื่องช้าตลอด
6.    ถ้าไม่รับประทานอาหารมากขึ้น ก็รับประทานน้อยลง
7.    นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
8.    มีอะไรพลาด ตำหนิตัวเองเป็นอันดับแรก
9.    พยายามฆ่าตัวตาย

ที่น่ากลัวคือโรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และผู้หญิงมักเป็นมากกว่าผู้ชาย และมักแสดงอาการของโรคครั้งแรกช่วงอายุ 25-35 ปี จากการศึกษาพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 3-4 ล้านคนของจำนวนประชากร มีทุกข์เพราะโรคซึมเศร้า แต่มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยา จิตบำบัด และสังคมบำบัด
แต่หากผู้ป่วยยอมเข้าสู่กระบวนการรักษา หมอเบิร์ทย้ำว่า “ถ้ารักษาครบถ้วน ถูกต้อง เป็นระยะเวลานานพอ คนไข้ก็สามารถกลับมาเป็นคนเก่ง 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิมได้ค่ะ”
ที่มาข้อมูล: นิตยสารแพรว






























ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

7 เทคนิคสู่การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ

อาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน